top of page

แคลเซียมมีกี่ประเภทกันนะ?


milk-glass-calcium-1.jpg

เมื่อพูดถึงอาหารเสริมแคลเซียมแล้วแทบจะไม่มีใครบอกว่าไม่รู้จัก เพราะในสื่อโฆษณาต่างๆจะมีเรื่องเกี่ยวกับแคลเซียมให้เราได้ยิน ได้เห็น ได้ฟังจนแทบจะท่องจำอาหารเสริมตัวนี้ได้ แต่จะมีใครสักกี่คนที่รู้จักอาหารเสริมตัวนี้อย่างถ่องแท้ว่าแท้จริงแล้วมี แคลเซียมกี่ชนิด และชนิดไหนที่จะดีต่อร่างกายมากที่สุด ดังนั้นในบทความต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสารตัวนี้ให้ถ่องแท้กัน

แคลเซียมสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

1. แคลเซียมอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมคลอไรด์

2. แคลเซียมอินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ซิเตรต แคลเซียมฟอสเฟต แคลเซียมแลกเตต แคลเซียมคีเลต ไบโอแคลเซียม แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต ซึ่งปริมาณแคลเซียมและการดูดซึมของแคลเซียมต่างรูปแบบก็จะต่างกัน

ลองมาดูแคลเซียมในรูปแบบต่างๆที่นำมาเป็นส่วนผสมในอาหารเสริมที่เราพบได้บ่อยๆในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เราพบเห็นในบ้านเรากัน

  • แคลเซียมคาร์บอเนต ถูกนำมาใช้มากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูก คุณสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้โดยอาศัยกรดในกระเพาะ มีความสามารถในการดูดซึมได้พอๆกับแคลเซียมจากน้ำนม หากรับประทานแคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มิลลิกรัม จะมีปริมาณแคลเซียม 40% คือ 400 มก.แต่ดูดซึมได้น้อยเพียง 15% ซึ่งทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียม 60 มิลลิกรัมซึ่งยังไม่พอแก่ความต้องการของร่างกาย (ที่ 70-90มิลลิกรัม) แคลเซียมคาร์บอเนตเป็นรูปที่นิยมใช้กันมากในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • แคลเซียมซิเตรต มีปริมาณแคลเซียม 21% คือ 210 มก. และดูดซึมได้น้อยเพียง 15% ดังนั้นต้องรับประทานแคลเซียมซิเตรต 3,000 มก. จึงจะเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายในหนึ่งวัน

  • แคลเซียมแลกเตต มีปริมาณแคลเซี่ยมเพียง 13% เป็นรูปแบบสังเคราะห์ซึ่งดูดซึมดี แต่แคลเซียมแลกเตตและแคลเซียมกลูโคเนตอยู่ในรูปที่ทำให้เข้มข้นยากจึงไม่ เหมาะที่จะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

  • แคลเซียมกลูโคเนต มี ปริมาณแคลเซียมค่อนข้างต่ำ (8.9%) ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทาน ปัจจุบันทางคลินิคมักนำเอาแคลเซียมกลูโคเนตมาเป็น Intravenous fluids ยาฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เพื่อใช้บำรุงแคลเซียมในภาวะฉุกเฉิน

  • แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ 80-90%ขึ้นไป ไม่ต้องอาศัยวิตามิน D เพื่อดูดซึม ไม่ตกค้างในร่างกายให้เกิดนิ่วหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ ส่วนที่เหลือเพียง 10-20% จะถูกขับออกทางเหงื่อ,ปัสสาวะ คนเป็นโรคไตรับประทานได้

  • แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต ซึ่งสกัดมาจากข้าวโพด สามารถดูด ซึมได้ 95% จึงทำให้การรับประทานแคลเซียมแอล-ทรีโอเนต 750 มิลลิกรัมก็เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกายใน 1 วันคือดูดซึมได้ถึง 90 มก. (ความต้องการ 70-90 มก.) และเนื่องจากดูดซึมดีจึงไม่ตกค้างให้เกิดนิ่วและไม่ทำให้ท้องผูกด้วย อีกทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก และกระดูกอ่อน รวมทั้งสร้างน้ำไขข้อ ไปพร้อมกันด้วยโอกาสเสริมสร้างกระดูกและข้อให้แข็งแรง

Tags:

Featured Posts
Recent Posts